วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัด สมุทรสงคราม สอนโดย อาจารย์ มาลัย รอดประดิษฐ์

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์
ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่ต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย
ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง   :   ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด
การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ
 การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น   :   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม
หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง  
สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง
ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ   :   เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล
ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย   :   ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง   ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน
ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้   : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รายงานเรื่องทุกข์ของชาวนา

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

                           เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร    เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่า เขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวาง และลึกซึ้งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหู มาจนถึงวันนี้
เปิบข้าวทุกคราวคำ     จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                          จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส              ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง      ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงมาเป็นเม็ดพราว        ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด     ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                   จึงแปรรวงมาเป็นกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง         และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น                  ที่สูซดกำซาบฟัน
                           ดูจากสรรพนามที่ใช้ว่ากู” ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง  นั้นชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะลำเลิก” กับใคร ๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น  จะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลยความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อคนกลุ่มนี้ในด้านของปัจจัยในการผลิต การพยุงหรือประกันราคาและการรักษาความยุติธรรมทั้งปวงก็ยังแทบ จะเป็นไปไม่ได้ ทำให้หลายประเทศ  ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ ซึ่งทำให้ตนมีราย ได้สูงกว่าหรือได้เวินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่าและไม่ต้องเสี่ยงมากเท่ากับเป็นชาวนา บางคนที่ยัง คงอยู่ในภาคเกษตรกรรม ก็มักจะนิยมเลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืช ซึ่งมักจะได้ราคาต่ำ เพราะรัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องวบคุมราคามาเป็นพืชเศรษฐกิจ ประเภทอื่นที่ราคาสูงกว่า แต่ก็ยังมีชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทางจะขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้ อาจแย่ลงเสียด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกากับใคร ถึงจะมีคนแบบจิตรที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจออกมาสะกิดใจคนอื่นบ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป
                            หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง ผู้แต่งชื่อหลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. ๗๗๒ ถึง ๘๔๖ สมัยราชวงศ์ถัง ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจเป็นบทกวีจีน ข้าพเจ้าจะแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์
หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม่ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
               กวีผู้นี้รับราชการมีตำแหน่งเป็นอยู่ของราษฎรชาวไร่ชาวนนายุคนั้น และเกิดความสะเทือนใจจึงได้บรรยายความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาใช้ชื่อว่าประเพณีดั้งเดิม” บทกวีของหลี่เซินเรียบ  ง่าย  แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน แม้ว่าฤดูกาบนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบรูณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควรเทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือน กับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป ตั่งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันปีกว่า สมัย จิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อ 30 ปี กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ข้าพเจ้าให้เห็นเอง ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก ฉะนั้นกานที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้าง ความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป

บทวิเคราะห์ 
ตอนอาทิตย์เที่ยงวันชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
                 บทพรรณนาความทุกข์ยากของชาวนาข้างต้นนี้ มาจากพระราชนิพนธ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงแปลจากบทกวีของจีนไว้ในพระราชนิพนธ์บทความเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวีบทความนี้อยู่ ในพระราชนิพนธ์เรื่องมณีพลอยร้อยแสง
                  มณีพลอยร้อยแสงเป็นหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้นิสิตอักษรศาสตร์รุ่นที่ ๔๑ จุฬาลงกกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๓
                   ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ พระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ แบ่งเป็น ๑๑ หมวดหมู่ดังนี้ กลั่นแสงกลอนกานท์” “เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ” “เรียงร้อยถ้อยดนตรี” “ชวนคิดพิจิตรภาษานานาโวหาร” “คำขานไพรัช” “สมบัติภูมิปัญญา” “ธาราความคิด” “นิทิศบรรณา” “สาราจากใจ” และมาลัยปกิณกะ  ในหมวดแชวนคิดพิจิตรภาษา” มีพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คณะผู้จัดทำหนังสือมณีพลอยร้อยแสงกล่าวไว้ในคำนำหมวดนี้ว่าบทความวิชาการทางภาษาและวรรณคดีรวมทั้งบทอภิปรายที่นำมารวมไว้เป็นเครื่องยืนยันพระปรีชาสามารถทางอักษรศาสตร์ และความเป็น “ปราชญ์ทางภาษา” ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี...
                      ข้อคิดจากบทอภิปรายเรื่องภาษาไทยกับคนไทยอาจช่วยให้คนไทยมองเห็นมิติใหม่แห่งคุณค่าของภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติ รวมทั้งความหมาย อันลึกซึ้ง ของภาษาในฐานะวัฒนธรรมอันแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา บทความเรื่องการใช้สรรพนามให้ทั้งความรู้และความสำเริงปัญญาแก่ผู้อ่าน บทความเรื่อง วิจารณ์คำอธิบาย เรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลี” อันเป็นการอภิปรายและวินิจฉัยการประกอบศัพท์ในภาษาบาลีอย่างละเอียด ช่วยสะท้อนให้เห็นความเป็น ปราชญ์ทางภาษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี อย่างแจ้งชัดยิ่งขึ้นและบทวิจารณ์ร้อยกรองเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีให้ข้อคิดน่าสนใจ และความรู้เชิงวรรณคดี เปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน...
                       พระราชนิพนธ์เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวีแสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีไทยของจิตร ภูมิศักดิ์และบทกวีของหลี่เชินซึ่งกล่าวถึงชีวิต และความ ทุกข์ยากของชาวนา เนื้อความในพระราชนิพนธ์แสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆของชาวนาและยังสะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอัน เปี่ยมล้นของ พระองค์ที่มีต่อ ชาวนาอีกด้วย บทกวีจีนที่ทรงแปลเป็นภาษาไทยนั้นก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทกวีที่สื่อความได้อย่างกระจ่างชัดเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เราเห็นภาพชีวิต ของชาวนาจีน กับชาวนาไทยว่ามิได้แตกต่างกันเท่าใดนัก พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างเรียงความที่ดีเรื่องหนึ่ง เพราะปรากฏแนวความคิดที่แจ่มแจ้ง
ชัดเจน ลำดับความให้ผู้อ่านนำไปตรึกตรองต่อไป สอดคล้องกับความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำหนังสือ มณีพลอยร้อยแสง ที่ว่านอกจากจะทรงเป็นกวีอย่างสมภาคภูมิแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงเป็นปราชญ์ผู้สามารถถ่ายทอดความรู้ทางอักษรศาสตร์ได้อย่างประณีตลึกซึ้ง สามารถเป็น “หลักและ ผู้ชี้แนะทางปัญญาแก่ผู้ใฝ่รู้ใน ศาสตร์อันทรงคุณค่าได้

คำศัพท์และข้อความ
กำซาบ 
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว  ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นคาวเหงื่อและคาวเลือดของชาวนาเพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อและเลือดเนื้อซึ่งแสดงถึงความทุกข์ ยากและความขมขื่นของชาวนา
จิตร  ภูมิศักด
นักคิดและนักเรียนไทย  (พ.ศ.  2473-2509 begin_of_the_skype_highlighting            2473-2509      end_of_the_skype_highlightingมีผลงานทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาและวรรณคดี
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น  เช่น พนักงานตามโรงแรมหรือห้างสรรพสินค้าเป็นต้น
สู
สรรพนามบุรุษที่  2  เป็นคำโบราณ
อาจิณ
ประจำ